ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชา ใดก็ได้มา1วิชา ในสาขาสังคมศึกษา 1 ระบบตาใหลัก I P O ในแต่ล่ะองค์ประกอบ ให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ล่ะองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย
ประวัติศาสตร์ไทย
การจัดแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ของไทยนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงพระทัศนะไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง "ตำนานหนังสือพระราชพงศาวดาร" ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเมื่อ พ.ศ. 2457 ถึงการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของไทยไว้ว่า "เรื่องพระราชพงศาวดารสยาม ควรจัดแบ่งเป็น 3 ยุค คือ เมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานียุค 1 เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานียุค 1 ซึ่งการลำดับสมัยทางประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง (Linear) โดยวางโครงเรื่องผูกกับกำเนิดและการล่มสลายของรัฐ กล่าวคือใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลางเช่นนี้ ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากต่อการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน มีข้อเสนอใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงเรื่องประวัติศาสตร์ไทยขึ้นมาบ้าง ที่สำคัญคือ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เสนอถึงหัวข้อสำคัญที่ควรเป็นแกนกลางของประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยไว้ 8 หัวข้อ ดังนี้
- การตั้งถิ่นฐานของผู้คน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น
- การเข้ามาของอารยธรรมใหญ่ คืออินเดียและจีน
- ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 13
- ยุคสมัยของการค้า (คริสต์ศตวรรษที่ 15-17)
- ก่อนสมัยใหม่
- รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม
- การปฏิวัติ 2475 และกำเนิดรัฐประชาชาติในทางทฤษฎี
- การปฏิวัติ 14 ตุลาคม 2516
INPUT
1. ผู้สอน ครู อาจารย์
2. ผู้เรียนหรือนักเรียน
3. สถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย
4. การตั้งวัตถุประสงค์การสอน
5. แผนการสอน
6. สื่อการสอน
7. หนังสื่อเรียนหรือตำราเรียน
8. กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบฝึกหัด
PROCESS
1. แจกแผนการสอนและเอกสารการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน
2. อธิบายรายวิชาและบอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียนได้เข้าใจ
3. ทำข้อตกลงระหว่างเรียนกับผู้เรียน
4. วัดผลประเมินผลผู้เรียนก่อนเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย
5. การสอน การบรรยายในชั้นเรียน
- แบบอภิปราย
-ใช้สื่อในการสอนแทน
6. การให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกเนื้อจากเอกสารที่นำมาเเจกให้นักเรียนเเละการเรียนการสอนในชั้นเรียน
7. ทำกิจกรรมระหว่างเรียนและมอบหมายงานให้กับผู้เรียน
8. การสอบผลการเรียนของผู้เรียน
9. การปรเะมินผลการเรียนของผู้เรียน
OUTPUT
1. ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์ของยุไทย
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ของประวัติศาสตร์ไทย
3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
4. ผู้เรียนสามารถสอบวัดผลประเมินผลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น